สปอดูมีน (Spodumene) ชื่อมาจากภาษากรีกความหมายเกี่ยวข้องกับสีของขี้เถ้า (ash colored) ชนิดฮิดเดนไนท์ ได้ชื่อเป็นเกียรติแก่ W. E. Hiddne และคุนไซท์ เป็นเกียรติแก่ G.F. Kunz
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ รูปผลึกระบบโมโนคลีนิก ผลึกที่มีขนาดใหญ่มักจะมีผิวหน้าขรุขระ รอยแยกแนวเรียบ 2 แนว ทำมุม 87 องศา และ 93 องศา ความแข็ง 6.5 - 7 ค่าความถ่วงจำเพาะ 3.15 - 3.20 ความวาวแบบแก้ว สีขาว เทา ชมพู เหลือง เขียว เนื้อโปร่งใสถึงโปร่งแสง สปอดูมีนชนิดที่มีสีดอกไลแลค หรือชมพูม่วงอ่อน และใสเรียกว่าคุนไซท์ Kunzite และชนิดที่มีสีเขียวมรกตเรียกว่าฮิดเดนไนท์ (Hiddenite)
คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี Li Al (Si2O6)มี LiO 8.0%, Al2O3 27.4% และ SiO2 64.6% อาจมีโลหะโซเดียมจำนวนเล็กน้อยเข้าไปแทนที่ลิเธียม หลอมขั้นที่ 3.5 ไม่ละลายในกรด
ลักษณะเด่น และวิธีตรวจ ดูจากรอยแยกแนวเรียบ 2 แนวทำมุมกัน ตอนแรกจะแตกกระจายละเอียดแล้วจะหลอมจนเป็นแก้ว เปลวสี
แดง
การกำเนิด พบเป็นผลึกโตในหินเปกมาไทท์ บางแห่งมีขนาดยาวถึง 40 ฟุต เช่นที่รัฐดาโกต้าใต้ เป็นต้น
แหล่ง
ในประเทศไทย พบในหินเปกมาไทท์ ที่สำนักเนียน อ.สิชน จ.นครศรีธรรมราช
ต่างประเทศ พบที่สหรัฐอเมริกา สกอตแลนด์ เกาะมาดากัสการ์
ประโยชน์ เป็นตัวต้นกำเนิด ที่จะให้โลหะลิเธียม ซึ่งนำมาผสมทำน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องจักรที่ใช้ความร้อนเป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา แบตเตอรี่ เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นวัสดุสำหรับช่วยให้โลหะหลอมง่ายขึ้น (flux) ชนิดฮิดเดนไนท์ และคุนไซท์ เป็นรัตนชาติได้สวยงามมาก
ชื่อทางการค้า
- คุนไซด์ (Kunzite)
- ฮิดเดรไนท์ (Hiddenite)
- ทริบเฟน (Triphane)