อัญมณีคืออะไร (Gemstones)

อัญมณีหรือเพชรพลอย (Gemstones)

          อัญมณี คือรัตนชาติที่มาจากแร่ธาตุต่างๆ (minerals) ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ ที่อยู่ใต้ผิวโลก และได้ขุดขึ้นมาแล้วนำไปเจียระไนและขัดมัน หรือแกะสลักเป็นรูปต่างๆ หลังจากนั้นจะนำมาใช้ทำเป็นอัญมณีเครื่องประดับ นอกจากนี้ยังมีสารอินทรีย์บางชนิดได้ถูกเลือกเข้ามาเป็นอัญมณีด้วย

แหล่งกำเนิดอัญมนี

          อัญมณีเกิดจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ สารอินทรีย์ (Organic) และ สารอนินทรีย์ (Inorganic)

เกิดจากสารอินทรีย์ (organic) คืออัญมณีที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ที่ไม่มีโครงสร้างทางผลึก (Non-Crystaline) ประกอบอยู่ และอะตอมภายในเรียงตัวกันอย่างไม่เป็นระเบียบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อสัญฐาน" (Amorphous) อัญมณีเหล่านี้จะมีความแข็งและความทนทานน้อยกว่าแร่อื่นๆ ตัวอย่างของสารอินทรีย์ เช่น อำพัน (Amber) ไข่มุก (Pearl) หินประการัง (Coral) กระ (Tortoise Shell) เปลือกหอย (Shell) เจท (ถ่านหิน) และ งาช้าง (Elephant lvory)

เกิดจากสารอนินทรีย์ (Inorganic) คือ อัญมณีที่มาจากแร่ธาตุ (Minerals) ที่อยู่ใต้ผิวโลก เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีโครงสร้างทางเคมี ค่อนข้างคงที่อะตอมภายในเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ ในรูปของผลึกแต่ละชนิดจะมีธาตุประกอบทางเคมีของมันเอง โครงสร้างทางเคมีประกอบด้วย ยูนิตเซลล์ (Unit Cell) ซึ่งเป็นอะตอมที่เล็กที่สุด และเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบยู่นิตเซลล์ จะทับถมกันเกิดเป็นผลึกในรูปต่างๆ เช่น ผลึกของเกลือแร่ (NaCL) สารต่างๆที่จะตกผลึก (Crystallize) ได้จะต้องอาศัยเวลา เนื้อที่ และอุณหภูมิเพียงพอที่สารเหล่านั้นจะตกผลึกได้ ถ้าองค์ประกอบต่างๆอำนวยและเหมาะสม จะได้ผลึกที่สวยงานและใหญ่ แต่ถ้าองค์ประกอบต่างๆ ไม่เหมาะสม ผลึกจะก่อตัวได้ไม่ดีเท่าที่ควร อาจจะทำให้หน้าผลึกไม่เด่นชัด และเกาะติดกันเป็นกองใหญ่ เรียกว่า "มาซซีฟว์" (Massive)

ประเภทของอัญมณีแยกตามผลึกแร่

      ระบบผลึก (Crystal System) แร่ประกอบขึ้นโดยธาตุชนิดต่างๆ ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันและอะตอมภายในที่เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบได้ก่อตัวกันขึ้นมาเป็นผลึก (Crystals) โดยอาศัยเวลา และอุณภูมิที่เหมาะสม เรียกว่า โครงสร้างผลึก (Crystrals Structures) เนื่องจากแร่ธาตุมีชนิดต่างๆกัน ดังนั้นระบบการจัดวางตัวของอะตอมภายใน จึงแตกต่างกัน ที่ให้รูปลักษณ์ออกมาเป็นรูปผลึกที่มีลักษะไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปแร่ทุกชนิดเมือเย็นตัวจะตกผลึก การตกผลึกนั้น ถ้าพื้นที่รอบๆกว้างใหญ่พอเพียง และปริมาณของแร่ไม่เข้มข้น แร่จะตกผลึกได้ใหญ่และสวยงาม

รูปร่างของผลึก (habit) คือลักษะภายนอกของผลึก ซึ่งเกิดจากแร่ที่มีองค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ดังนั้นลักษณะการเรียงตัวของอะตอมภายในจึงต่างกันทำให้ปรากฎออกมาเป็นรูปผลึกที่มีลักษณะภายนอก ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เพชร (Diamond) รูปร่างผลึกมักปรากฏออกมาในรูปอ๊อกตาฮีดรอน (Octahedron) ซึ่งมี 4 ด้าน 8 หน้า คล้ายรูปปิรามิด 2 อัน ประกบกัน ลักษณะของผลึก แบ่งเป็น 2 แบบ

  1. ผลึกเดี่ยว (Single Crystals) คือผลึกที่มีการเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบและขึ้นมาโดดๆ โดยไม่จับเป็นกลุ่ม เช่น ควอทซ์ (Quartz) เป็นต้น
  2. แอกกริเกท (Aggreates) คือการรวมตัวของผลึกอย่างไม่เป็นระเบียบ แบ่งออกเป็น
    1. คริสตัน แอกกริเกท (Crysral Aggregates) คือกลุ่มของผลึกที่จับตัวรวมกันอย่างไม่เป็นระเบียบ และสามารถเห็นผลึกขึ้นมาโดดๆได้ด้วยตาเปล่าดังเช่น ผลึกในควอทซ์ (Quartz)
    2. ไมโครคริสตัลลีน (Microcrystallines) คือกลุ่มของผลึกที่จับตัวรวมกันอย่างไม่มีระเบียบและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า นอกจากดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เช่น หยกเจไดท์ (Jadeite) หยกเนฟไฟรท์ (Nephrite) ฮีมาไทท์ (Hematite) อะเวนจูรีน ควอทซ์ (Aventurine Quartz) โรโดไนท์ (Rhodonite) เป็นต้น
    3. คริสโตคริสตัลลีน (Cryptocrystallines) คือกลุ่มของผลึกที่จับตัวรวมกันอย่างไม่เป็นระเบียบมีลักษณะที่เล็กกว่าไมโครคริสตัลลีน (Microcrystallines) ซึ่งแม้แต่การดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ก็ไม่สามารถเห็นได้ เช่น คาสซิโดนี่ (Chalcedony) เทอร์ควอยซ์ (Turquoise) เป็นต้น

การแบ่งระบบผลึก แบ่งออกเป็น 6 ระบบคือ

1. ระบบไอโซเมทริก หรือ คิวบิก (Isometric or Cubic Crystal System) มีแกน 3 แกนเท่ากัน และตัดกันที่กึ่งกลางเป็นมุมฉาก ผลึกในระบบนี้มีลักษณะรูปร่างผลึก (Habit) ดังนี้ 
รูปคิวบิก (Cubic) คล้ายลูกเต๋า มี 3 ด้าน 6 หน้า เช่น ในแร่ไพไรท์ (Pyrite) เป็นต้น 

  • รุูปอ๊อกตาฮีดรอน (ctahedron) คล้ายรูปปิรามิด 2 อันมาประกบกันมี 4 ด้าน 8 หน้า เช่น เพชร (Diamond) เป็นต้น
  • รูปโดเดกาฮีดรอน (Dodecahedron) มี 6 ด้าน 12 หน้า เช่น พลอยการ์เน็ท (Garnets) เป็นต้น
  • รูปเททราเฮ็กซะฮีดรอน (Tetrahexahedron) มี 12 ด้าน 24 หน้า เช่น พลอยการ์เนท (Garnets) เป็นต้น

     แร่ที่จัดอยู่ในระบบนี้ได้แก่  เพชร (Diamond), แย็ก (YAG), จี จี จี (GGG), คิวบิกเซอร์โคเนียสังเคราะห์ (Synthetic Cubic Zirconia, CZ), สตรอนเตียม ไททาเนท (Strontium Titanate), การ์เน็ท (Garnets), สปิเนท (Spinel), สปิเนลสังเคราะห์ (Synthetic Spinel)

2. ระบบทีทระโกนัล (Tetragonal Crystal System) มี 3 แกน มีแกนยาวเท่ากัน 2 แกน ตัดกันที่ 90 องศา ในระนาบเดี่ยวกัน ส่วนแกนที่ 3 ยาวกว่าอีก 2 แกน และตั้งฉากที่ระนาบของแกนที่สอง แร่ที่จัดอยู่ในระบบนี้ ได้แก่ เพทาย (Zircon) รูทิลสังเคราะห์ (Synthetic Rutile) เป็นต้น

3. ระบบเฮ็กแซกโกนัล (Hexagonal Crystal System) หรือ ระบบทริโกนัล (rigonal Crystal System) มี 4 แกน โดย 3 แกนอยู่ในระนาบเดียวกันและตัดกันที่ 60 องศา ส่วนแกนที่ 4 ตั้งฉากกับระนาบนี้ แร่ที่จัดอยู่ในระบบนี้ได้แก่ เบอริล (Bery) เบอริลสังเคราะห์ (Cynthetic Beryl) ควอทซ์ (Quartz) ควอทซ์สังเคราะห์ (Synthetic Quatz) คอรันดัม (Corundum) คอรันดัมสังเคราะห์ (Synthetic Corundum) ทัวมาลีน (Tourmaline) เป็นต้น

4.. ระบบออโธรอมบิก (Orthorhombic Crystal System) มี 3 แกนที่ยาวไม่เท่ากัน และทั้ง 3 แกนตัดกันทำมุมฉาก แร่ที่จัดอยู่ในระบบนี้ได้แก่ เพอริดอท (Peridot) โทแพส (Topaz) คริสโซเบอริล (Chrysoberyl) คริสโซเบอริลสังเคราะห์ (Synthetic Chrysoberyl) ซอยไซท์ (Zoisite) แอนดาลูไซท์ (Andalusite) เป็นต้น

5.. ระบบโมโนคลีนิค (Monoclinic Crystal System) มี 3 แกน ไม่เท่ากัน โดยมี 1 แกนตัดตั้งฉากกับอีก 2 แกน แร่ที่จัดอยู่ในระบบนี้ได้แก่ สปอดูมีน (Spodumene) หยกเนฟไฟร์ท (Nephrite) หยกเจไดท์ (Jadeite) เป็นต้น

6.ระบบไทรคลีนิค (Triclinic Crystal system) มี 3 แกน ไม่เท่ากันและไม่ตั้งฉากกัน แร่ที่จัดอยู่ในระบบนี้ได้แก เทอร์ควอยซ์ (Turquoise) แลบราโดไรท์ (Labradorite) เป็นต้น

*หมายเหตุ* แร่ที่อยู่ในระบบไฮโซเมตริก (Isometrics) และ อะมอร์ฟัส (Amorphous) อาจเรียกได้อีกอย่างอีกอย่างว่า แอนไอโซทรอปิค (Anisotropic) เป็นพลอยหักเหคู่ (Double Refractive) คือเมื่อแสดงเดินทางผ่านเข้าไปในพลอยจะแยกมาเป็น 2 ลำแสง 

คุณสมบัติของอัญมณี  แบ่งตามระดับความแข็งความเหนี่ยวมีผลต่อราคาอัญมณี ที่เรียกกันว่า พลอยเนื้อแข็ง, พลอยเนื้ออ่อน (Precious  and Semi-Precious stones)