รายชื่ออัญมณีประเภทต่างๆ

อัญมณีแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

ตระกูล (Group) ประเภท (Species) ชนิด (Variety)
การ์เน็ท (โกเมน)
Garnet
สเปสซาไทท์ หรือ สเปสซาทีน
(Spessatite or Spessatine)
  • ระบุโดยสี พลอยโปร่งใส สีส้มอมเหลือง สีส้มอมน้ำตาล โทนสีติดส้มเสมอ
อัลมันไดท์ หรือ อัลมันดีน
(Almandite or Almandine)
  • ไม่มีชนิด โปร่งใส สีแดงอมน้ำตาล หรือ สีแดงอมม่วง โทนสีส่วนมากจะมืด
  • สตาร์ (Star) จะแสดงแอสเทอริซิม หรือสตาร์ 6 แฉกปกติ จะเป็นสีม่วงแดง หรือ แดงน้ำตาลเข้ม ทั่วๆไปโทนสีจะมืด
ไพโรป
(Pyrope)
  • ไม่มีชนิด โปร่งใส สีแดงอมน้ำตาล หรือแดงม่วง โทนสีส่วนมากจะมืด
โรโดไลท์
(Rhodolite)
  • สีม่วง หรือม่วงอมแดง สีติดม่วงเสมอ เป็นโกเมน ที่เกิดจากการผสมกันระหว่างไพโรป และ อัลมันไดท์
แอนดราไดท์
(Andradite)
  • ดีแมนทอยด์ (Demantoid) โปร่งใส สีเขียวอมเหลืองถึงเขียว มีการกระจายแสดง (Dispersion) สูง
กรอสซูลาไรท์
(Grossularite)
ชนิดที่มีความโปร่งใส 
  • เฮสโซไนท์ (Hessonite) โปร่งใส มีสีส้มปานกลางถึงเข้ม น้ำตาลส้มถึงเหลืองอมน้ำตาล
  • ซาโวไรท์ (Tsavorite) พลอยจะโปร่งใส มีสีเขียวอ่อนถึงปานกลางหรือเข้ม หรือเขียวอมเหลือง
  • ชนิดอื่นๆจะระบุโดยสี

ชนิดที่มีความโปร่งแสง

  • จะระบุโดยสี ทั่วไปจะเป็นสีเขียว หรือชมพู
 

ควอทซ์ (Quartz)

  • อะมีทิสต์ (Amethyst) สีม่วงอ่อน กลาง เข้ม ถึงม่วงอมแดง
  • ซิตริน (Citrine) สีเหลือง ส้ม ส้มน้ำตาล แดงส้ม
  • อมีทิสต์-ซิตริน (Amethyst-Citrine) จะมีสองสีปนกัน ตัวพลอยจะมีสีของอะมีทิสต์กับสีของซิตริน ส่วนมากชื่่อในวงการค้าเรียกกันว่า อะมีตริน (Ametrine) หรือ ไทรสติน (Trystine)
  • ร็อค คริสตัน (Rock Crystal) ไร้สี
  • รูทิเล็ทเต็ท (Rutilated) สามารถมองเห็นผลึก ของเส้นเข็มรูทิลสีน้ำตาล สีทอง รหือเหลืองอ่อน ที่มีอยู่มากมายในตัวพลอยด้วยตาเปล่า พลอยอาจจะไร้สี หรือสีเทาแต่โดยทั่วไปจะไร้สี ถ้าตำหนิภายในคล้ายเส้นเข็มเป็นแร่ทัวมาลีน วัตถุนั้นจะเรียกว่า ทัวมาลีนเน็ทเต็ดควอทซ์ (Tourmalinated Quartz) หรือ ซาจีไนท์ ควอทซ์ (Sagenite Quartz) คาโคซีไนท์ (Cacoxenite) จะเป็นสีเข้มสีทองที่เกิดขึ้นในพลอยอะเมทิสต์
  • สโมกี้ หรือ เครนคอร์ม (Smoky or Cairngorm) โปร่งใส ถึงกึ่งโปร่งแสดง สีน้ำตาล เทาน้ำตาล โทนสีอ่อนถึงเข้ม
  • โรส (Rose) โปร่งใส ถึงกึ่งโปร่งแสง สีชมพูชมพูอมม่วง
  • มิลกี้ (Milky) โปร่งแสง ถึงทึบ สีขาวคล้ายสีน้ำนม

ชนิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ

  • อะเวนจูรีน (Aventurine) ทั่วๆ ไปจะมีสีเขียว เกิดจากแผ่นไม่ก้าเล็กๆมากมาย
  • ตาเสือ (Tiger's Eye) กึ่งโปร่งแสงถึงทึบแสง สีเหลืองอมน้ำตาล น้ำตาล น้ำตาลอมแดง พร้อมด้วยแถบเส้นแสง (แชทโทเยนซี) จะเป็นคลื่น หรือตรง
  • ตาเหยี่ยว (Hawk' Eye) โปร่งใส ถึงโปร่งแสง สีเทา-น้ำตาล สีเขียวถึงเหลืองอมเขียว มีแชทโทเยนซี
  • สตาร์ (Star) มีแอสเทอริซึม (สาแหรก) ปกติจะมี 6 แฉก โดยทั่วไปมักเกิดกับโรสควอทซ์ (Rse Quartz)
  คริสโซเบอริล
(Chrysoberyl)
  • ระบุโดยสี โปร่งใส ถึงทึบ สีม่วง แดงอมส้ม เหลือง เขียว ฟ้า

ชนิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ

  • อเล็กซานไดรท์ (Alexandrite) แสดงการเปลี่ยนสี ทั่วไปจะเป็นสีเขียวในแสงแดด (Daylight) และเปลี่ยนเป็นสีแดงในแสงไฟ (Incandescent light) แต่สีพลอยทั่วไปจะเป็นสีเขียวที่ค่อนข้างมืด ถึงม่วงอมน้ำตาล
  • ตาแมว (Cat's Eye) แสดงเส้นขาวคาดเดียวแบบตาแมว ทั่วไปตัวพลอยจะเป็นสีเหลือง เขียว น้ำตาล หรือการผสมของสีเหล่านั้น
  • ตาแมวเล็กซานไดรท์ (Alexandrite Cat's Eye) แสดงทั้งสองอย่างคือ มีการเปลี่ยนสี และมีตาแมว
  คอรันดัม
(Corundum)
  • ทับทิม (Ruby) โปร่งใสถึงโปร่งแสง มีสีแดงอ่อน กลาง ถึงเข้ม ปกติจะเป็นสีแดงอมม่วง  หรือแดงอมส้ม
  • ซัฟไฟร์ (Sapphire) โปร่งใสถึงโปร่งแสง มีทุกสี นอกจากสีแดง ปกติในตลาดการค้าทั่วไป คำว่า ซัฟไฟร์ (ไพลิน ) จะหมายถึงสีน้ำเงิน ถ้าสีอื่นๆจะเรียกว่า แฟนซีซัฟไฟร์ (Fancy) และควรใช้สีตามตัวซัฟไฟร์ เช่น ซัฟไฟร์สีเหลือง (Yellow Sapphire) ซัฟไฟร์เขียว (Green Sapphire) ซัฟไฟร์พัดพารัดชา (Padparadscha) คือ ซัฟไฟร์สีส้มอมชมพู ถึงส้ม-ชมพู (มีโทนสีอ่อน ถึงปานกลาง เป็นซัฟไฟร์ที่ได้รับความนิยม และรู้จักกันดี

ชนิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ

  • สตาร์ทับทิม (Star ruby) ทับทิมจะมีสาแหรก (แอสเทอริซึม Asterism) ปกติ 6 แฉก
  • สตาร์ซัฟไฟร์ (Star Sapphire) มีทุกสี ยกเว้นสีแดง มีสาแหรก (แอสเทอริซึม Asterism) 6 แฉก
  • ซัฟไฟร์คล้ายเล็กซานไดร์ (Alexandrite-like Sapphire) จะเปลี่ยนสี จากน้ำเงินในแสงแดด เปลี่ยนเป็นสีม่วงในแสงไฟ 
  คาลซิโดนี 
(Chalcedony)
  • คาร์นีเลียน (Carnelian) โปร่งแสงสีส้ม สีอมน้ำตาบ แดงอมน้ำตาล แดงอมส้มถึงแดง สีจะสว่าง และอ่อนกว่า ซาร์ด (Sard)
  • ซาร์ด (Sard) คล้ายคาร์นีเลียน ยกเว้นสีอมน้ำตาลเข้มกว่า ดังน้น ซาร์ด สีจะเข้มและมืดกว่าคาร์นีเลียน
  • คริโซเพรส (Chrysoprase) โปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งแสง สีเขียวอมเหลือง เป็นสีเฉพาะในพลอยธรรมชาติของคาลซิโดนี่ ไม่ใช่คาลซิโดนี่ที่ย้อมเป็นสีเขียว
  • คริสโซโคล่าในคาลชินี (Chrysocolla in Chalcedony) โปร่งแสดงถึงกึ่งโปร่งแสงสีฟ้าอมเขียว หรือฟ้า โดยสีเกิดขึ้นโดยตำหนิภายในของแร่ทองแดงอาจมีรูปลักษณะคล้ายเทอร์ควอยซ์ ที่มีคุฯภาพดี
  • เพรส (Prase) โปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งแสง สีเขียวอมเทา
  • อะเก็ท (Agate) โปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งแสงสามารถเห็นแถบเส้นที่โค้งงอหรือไม่เป็นระเบียบได้ด้วยตาเปล่า เกิดได้ทุกสี หรืออาจจะอยู่ในรูปของสีหลายสีรวมกัน
  • บลัดสโตน หรือ ฮีลิโอโทรป (พลอยเลือด) (Bloodstone or Heliotrope) กึ่งโปร่งแสงถึงทึบ พื้นพลอยเป็นสีเขียวสามารถเห็นสีแดง หรือน้ำตาล-แดง เป็นหย่อมๆ (จุด) ทั่วพลอย ด้วยตาเปล่า
  • แจสเปอร์ (Jasper) กึ่งโปร่งแสงถึงทึบ มีทุกสี หรือการผสมกันของสีแต่างๆยกเว้นสีดำ
  • มอสอะเก็ท (Moss Agae) กึ่งโปร่งแสง-โปร่งใส มีไร้สี สีขาว เทา สามารถมองเห็นตำหนิภายในแบบเชื้อรา (Moss) ของสีต่างๆ ได้ด้วยตาเปล่า (แต่ส่วนมากจะเป็นสีเขียว ลักษณะคล้ายต้นไม้)
  • เดนดริทริคอะเก็ต (Dendritic Agagte) กึ่งโปร่งใสถึงโปร่งแสง ไร้สี สีขาว หรือสีเทาสามารถมองเห็นตำหนิภายในแบบเชื้อราคล้ายต้นไม้ด้วยตาเปล่า (ปกติจะเป็นสีน้ำตาลเข้มดำ)
  • ออนิค (Onyx) โปร่งแสงถึงทึบแสง จะมีเส้นตรงขนานเรียงกันเป็นชชั้นสี หรือแถบของสี ปกติจะสีดำ และขาว
  • ซาร์ดออนิค (Sardonyx) ออนิคที่มีลายแถบสีของซาร์ด หรือ คาร์นี-เลี่ยน กับสีขาว หรือสีดำในแต่ละชั้น
  • พลาสม่า (Plasma) โปร่งแสงถึงทึบ สีเขียวเข้ม สามารถมองเห็นจุดสีขาวสีเหลือง เป็นหย่อมๆ ทั่วพลอยด้วยตาเปล่า
  • มิลกี้ (Milky) กึ่งโปร่งใสถึงโปร่งแสง สีขาว-เทา
  • นิลดำ (Black Chalcedony) กึ่งโปร่งใสถึงทึบ สีดำ ในทางการค้ามักเรียกเป็น ออนิค (Onyx)

ชนิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ

  • ไฟร์อะเก็ท (Fire Agage) โปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งแสง สีส้มถึงน้ำตาลเข้ม-น้ำตาล มีโครงสร้างคล้ายพวงองุ่น (Botryoidal Structure) และจะเห็นอิริเดสเซนส์ (Iridescence)
  • ไอริสอะเก็ท (Iris Agage) โปร่งแสง การแสดงของสีต่างๆคล้ายสีรุ้งเกิดเกิดขึ้นจากการหักเหของแสงที่ส่องผ่านจากเสี้ยนเล็กๆ ขนานกันของคาลซิโดนี่
  ซอยไซด์
(Zoisite)
  • ทานซาไนท์ (Tanzanite) โปร่งใส สีน้ำเงินอมม่วง-ม่วง
  • ธูไลท์ (Thulite) โปร่งแสงถึงทึบแสง สีชมพู ชมพูอมม่วง สีแดง
  • ชนิดอื่นๆ ระบุโดยสี เช่น สีน้ำตาล เขียวอมเหลือง 
  เซอร์คอน 
(Zircon)
  • ระบุโดยสี โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งใส สีม่วง สีแดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน และไร้สี
  ทัวมาลีน
(Tourmaline)
  • ระบุโดยสี โปร่งใสถึงทึบ มีทุกสี เรียกชื่อตามตลาดการค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับสีของพลอย เช่น รูเบลไลท์(Rubellite) สีแดง อินดิโรไลด์ (Indicolite) สีน้ำเงิน แอลไบท์ (Albite) สีขาว ดราไวท์ (Dravite) สีเหลือง สโกล (Schorl) สีดำ และ ลิดดิโคไทท์ (Liddicoatite) มีลักษณะตำหนิเป็นแถบสีรูป 3 เหลี่ยมเป็นต้น
  เทอร์ควอยซ์
(Turquoise)
  • ไม่ได้ระบุชนิดไว้ กึ่งโปร่งแสงถึงทึบแสง สีฟ้า น้ำเงิน เขียว
  โทแพส 
(Topaz)
  • ระบุโดยสี โปร่งใส สีแดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน ฟ้า น้ำตาล และ ไร้สี
  เบอริล 
(Beryl)
  • มรกต (Emerald) พลอยโปร่งใส สีเขียวอ่อน กลาง ถึง เข้ม อาจมีสีเขียวอมฟ้า หรือ เขียวอมเหลืองเล็กน้อย
  • อะคัวมารีน (Aquamarine) พลอยโปร่งใส สีเขียวอมฟ้า ฟ้าอมเขียวถึงน้ำเงิน ปกติโทนสีจะอ่อน
  • มอร์แกไนท์ (Morganite) พลอยโปร่งใส สีชมพู ถึงชมพูอมม่วง ปกติสีจะอ่อน อาจมีสีชมพูอมส้ม ถึงน้ำตาล
  • โกชีไนท์ (Goshenite) พลอยโปร่งใส ไร้สี
  • ฮีลิโอดอร์ หรือ โกลเด้น (Heliodore or Goledn) พลอยโปร่งใส สีเหลืองอมเขียว สีเหลืองถึงเหลือง อมน้ำตาล
  เพอริดอท
(Peridot)
  • ไม่ได้ระบุชนิดไว้ พลอยโปร่งใส สีเขียวอมเหลือง เขียวอมน้ำตาล
  มาลาไคท์
(Malachite)
  • ไม่ได้ระบุชนิดไว้ พลอยทึบแสง สีเขียวมักมีแถบสีเขียวคาดเป็นลาย
  ลาพิส-ลาซูลี่
(Lapis - Lazuli)
  • ลาพิส (Lapis) พลอยกึ่งโปร่งแสงถึงทึบแสง สีน้ำเงินอมม่วง
  สปอดูมีน
(Spodumene)
  • คุณไซท์ (Kunzite) โปร่งใส สีชมพู ถึง ม่วงชมพู ปกติโทนสีจะอ่อน
  • ฮิดเดนไนท์ (Hiddenite) โปร่งใส มีสีเขียวอ่อน ถึงกลางมีลักษณะที่คล้ายมรกต
  หยก (Jade) หรือ
หยกเจไดท์ (Jadeite)
  • ระบุโดยสี พลอยกึ่งโปร่งใสถึงทึบแสง มีทุกสียกเว้นสีน้ำเงิน
  โอปอล (Opal)
  • สีขาว (White) จะแสดงนสีการเล่นสี โปร่งแสง ถึงกึ่งโปร่งแสงตัวพลอยจะมีพื้นสีขาว
  • สีดำ (Black) จะแสดงการเล่นสี โปร่งแสง ถึงทึบ สีดำ เทาดำ หือสีือื่นๆ ทีเข้มๆ
  • ไฟร์ หรือ แมกซิกัน (Fire or Mexican) โปร่งใส ถึงกึ่งโปร่งใส มีทั้งแสดงการเล่นสี และไม่มีการเล่นสี ทั่วไป จะมีสีส้ม เหลือง น้ำตาล หรือแดง ถ้าพวกที่มีสีแดง เรียกได้อีกชื่อว่า เชอรี่ โอปอล (Cherry Opal)
  • คริสตัล (Crystal) โปร่งใส ถึงกึ่งโปร่งใส ไร้สี พร้อมด้วยการเล่นสีเล็กน้อย
  • เจลลี่ หรือ วอเทอร์ (Jelly or Water) โปร่งใส ถึงกึ่งโปร่งใส ไร้สี พร้อมด้วยการเล่นสีเล็กน้อย
  • โบลเดอร์ (Boulder) โอปอลที่เป็นแผ่นบางๆ และมีแผ่นเมริกส์ (Matrix) ติดอยู่ พร้อมด้วนการเล่นสี
  • คอมมอน (Common) โปร่งแสง ถึงทีบแสง พลอยจะเป็นสีอะไรก็ได้ แต่ไม่มีการเล่