การแตกของอัญมณี (Breakage)

การแตกของอัญมณี (Breakage)

การแตกของอัญมณีแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ รอยแตก (Fractures) และ รอยแยกแบบแนวเรียบเป็นขั้นบันได (Cleavage)

  1. รอยแตก (Factures) การแตกของอัญมณีโดยไม่มีทิศทางที่แน่นอน (Irregular Break) เมื่ออัญมณีแตกหรือบิ่นในทิศทางที่ไม่ใช่แนวของระนาบรอยแยกแนเรียบแล้วเราจะเรียกว่า รอยแตก รอยแตกมีหลายลักษณะซึ่งได้รับการยอมรับและใช้กันทั้วไป และ อาจเป็นวิธีการขั้นหนึ่งในการช่วยตรวจสอบอัญมณี หรือแร่ต่างๆ เช่น
    • รอยแตกแบบโค้งเว้า (Conchoidal) พบได้ในอัญมณีทั่วไป มีลักษณะคล้ายเปลือกหอย คือเป็นงวซ้อนๆกัน เช่นรอยแตกของแก้วที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนี้อาจพบได้ในพลอยคอรันดัม (Corundum) ควอทซ์ (Quartz) และ เบอริล (Bery) เป็นต้น
    • รอยแตกแบบเสี้ยนไม้ (Splintery) มีลักษณะเป็นเส้น ๆ แหลมแบบกากไม้ เช่น ในพลอยฮีมาไทท์ (Hematite) เป็นต้น
    • รอยแตกแบบขรุขระ (Granular) มีลักษณะขรุขระไม่เรียบซึ่งเกดขึ้นกับหยดเจไดท์(Jadeite) หรือ เทอร์ควอยซ์ (Turquoise) เป็นต้น
    • รอยแตกแบบเรียบ (Even of Smooth) เป็นรอยแตกที่มีผิวเรียบแต่ไม่เป็นขั้นบันได้
    • รอยแตกแบบแบบไม่เรียบ (Uneven) มีลักษณะคล้ายรอยแตกของหินเช่น ลาพิส-ลาซูลี่ (Lapis-Lazuli) เป็นต้น
    • รอยแยกแนวเรียบ (Parting) เป็นรอยแยกที่มีผิวเรียบและเป็นเส้นตนงขนานกัน ซึ่งเกิดจาก "รีพีทิด ทวินนี่" (Reqeated twining) บางครั้งจะเรียกว่ารอยแยกแนวเรียบปลอม (False cleavage) เพราะดูคล้ายกับรอยแยกแนเรียบแบบขั้นบันได (Cleavage) รอยแยกแนวเรียบจะเกิดขึ้นตามจำนวนของระนาบคู่ "รีพีทิด ทวินนิ่ง" อาจมีเพีงระนาบเดียวหรือหลายระนาบขนานกัน อัญมณีที่มีรอยแยกแบบนี้เช่น คอรันดัม (Corundum) เป็นต้น
  2. รอยแนกแนวเรียบแบบขั้นบันได (Cleavage) การแตกของอัญมณี ตามแนวระนาบเรียบของผลึก จะเกิดขนานกับหน้าผลึกเสมอ มีคุณสมบัติตามทิศทางและเกิดกับแร่ที่ตกผลึกเท่านั้นสาเหตุทีทำให้เกิดรอยแยกแนวเรียบแบบขั้นบันได เนื่องจากโครงสร้างภายในอะตอม แร่บางชนิดอาจมีรอยแยกแนวเรียบแบบขั้นบันไดได้ ตั้งแต่  1 ถึง 6 ทิศทาง ลักษณะรอยแยกแนวเรียบแบบขั้นบันได อาจเป็นรอยแยกที่สมบูรณ์ชัดเจน (Perfect) หรือไม่สมบูรณ์ชัดเจน (Imperfect) เช่น เพชร มีรอยแนวเรียบแบบขั้นบันได 4 ทิศทางที่สมบูณ์ชัดเจน